หากจะพูดถึงเรื่อง ดาราศาสตร์ ถือว่า โลกเราก็มีพัฒนาการเกี่ยวกับการสำรวจความเปลี่ยนแปลงของดวงดาวมาอย่างต่อเนื่อง จนสู่ยุคของการมีกล้องโทรทรรศน์ไว้สำหรับดูดวงดาว แต่ นอกจากการส่องมองแล้ว เราก็ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือจากนั้นแล้ว มีความใฝ่ฝันของบรรดานักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์หลายคนที่อยากจะไปเหยียบบนดวงดาวที่เขาส่องดูกันสักครั้งในชีวิต แน่นอนว่า จุดเริ่มต้อนของความคิดเหล่านี้ นำมาสู่ การสร้างยานอวกาศเพื่อสำรวจจักรวาลกัน ซึ่งยุคของการสำรวจโดยยานอวกาศ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก ขึ้นโคจรรอบโลก ในปี 1957 โดยสามารถโคจรรอบโลกได้ถึงหนึ่งปี หลังจากนั้น ความสำเร็จก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการที่สหรัฐอเมริกา ส่งยานเอกซ์พลอเรอร์ 6 โคจรรอบโลกในปี 1959 และยังสามารถถ่ายภาพโลกได้จากอวกาศได้เป็นครั้งแรก การถ่ายภาพโลกได้ ถือว่าเป็นการปิดฉากกลุ่มคนที่ยังเชื่อว่าโลกแบนไปโดยปริยาย
ในปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตสามารถส่งยานเดินทางไปยังวัตถุอื่นในระบบสุริยะ นั่นคือ ยานลูน่า 1 ที่สามารถเดินทางผ่านดวงจันทร์ และสามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้เป็นลำแรก และต่อมา ยานมาริเนอร์ 2 กลายเป็นยานอวกาศลำแรก ที่สามารถเดินทางไปถึงดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ โดยสามารถเดินทางไปถึงดาวศุกร์ในปี 1962 เมื่อมีครั้งแรกย่อมมีครั้งที่สอง โดยยานมาริเนอร์ 4 ก็สามารถเดินทางไปถึงดวงจันทร์ได้ในปี 1965 และในปี 1974 ยานมาริเนอร์ 10 ก็สามารถเดินทางไปถึงดาวพุธได้ สำหรับในส่วนของยานที่สามารถลงจอดได้บนวัตถุอื่นในระบบสุริยะ เริ่มตั้งแต่ ยานลูน่า 2 สามารถจอดที่ดวงจันทร์ได้ในปี 1959 และหลังจากนั้นก็มียานลำอื่นๆที่ สามารถลงจอดที่ดาวอื่นๆได้เช่นเดียวกัน อาทิเช่น ยานเวเนรา 3 ลงจอดที่ผิวดาวศุกร์ในปี 1966
สำหรับการสำรวจระบบสุริยะชั้นนอก ยานลำแรกที่สามารถเดินทางได้ โดยผ่านทางดาวพฤหัสบดี ในปี 1973 ก็คือ ยานไพโอเนียร์ 10 หลังจากนั้นก็มียานอื่นๆเดินทางผ่านดาวเสาร์ ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ดาวที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ ก็มียานสำรวจไปถึง โดยใช้ระยะเวลาเดินทางถึง 9 ปี และเพิ่งจะปลดประจำการไปเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาเอง โดยการระเบิดตัวเอง เราจะเห็นได้ว่า การสำรวจจักรวาลด้วยยานอวกาศในช่วงห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นความพยายามที่จะสำรวจดาวที่ใกล้เคียงกับโลก เพื่อที่ในอนาคตเราจะหาทางนำสิ่งมีชีวิตไปอาศัยต่อไปนั่นเอง